CERTIFICATED 2020

Certificated 2020

ธนาคารแห่งประเทศไทย

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

GSEE INDEX

4.65

POINTS

1. Leadership

ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความสำคัญด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โดยมีการประกาศนโยบายส่งเสริมต่อความยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมจากผู้บริหารสูงสุด เช่น นโยบายการจัดการพลังงาน นโยบายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร รวมถึงมีการแต่งตั้งคณะทำงานที่มีการมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างชัดเจน ได้แก่ ด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม (ทกพส.) คณะทำงานเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) และคณะทำงานคาร์บอนฟุตพริ้นท์  อีกทั้งยังมีแผนงานสนับสนุนยุทธศาสตร์ธนาคารแห่งประเทศไทย ปี 2563-2565 ที่มีประเด็นความท้าทายด้านการดำเนินงานโดยคำนึงถึงความยั่งยืน ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล

มีการดำเนินกิจกรรมที่แสดงความรับผิดชอบต่อชุมชนต่างๆ เช่น กิจกรรมทำความสะอาดถนนบริเวณใต้สะพานพระราม 8 กิจกรรมมอบเงินบริจาคจากการขายของมือสองในงาน BOT Go Green ให้กับมูลนิธิพระดาบส โครงการจิตอาสา เราทำความดีด้วยหัวใจ ความสะอาดร่วมกับเขตพระนคร และวัดสามพระยา และโครงการจิตอาสา ทำความสะอาดทาสีริมเขื่อนแม่น้ำเจ้าพระยากับหน่วยงานต่างๆ เป็นต้น อีกทั้งยังมีการสร้างเครือข่าย Facility Management Collaboration Network (FMCN) เพื่อสร้างความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน ปัจจุบันสมาชิกเครือข่าย FMCN ประกอบด้วย ธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (SCG)

2. Energy Performance Issue

ธปท. ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลด้านการจัดการพลังงาน ISO 50001  ดัชนีการใช้พลังงานลดลง 4.05%  และสามารถลดต้นทุนพลังงานต่อหน่วยได้ 3.07% เมื่อเทียบจากปีฐาน และทุกอาคารมีค่าการถ่ายเทความร้อนดีกว่าเกณฑ์ของ BEC

3. Environmental Issue

มีกระบวนการในการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยมีนโยบายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน ทกพส. และคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร มีแผนปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ แผนงานส่งเสริมการปลูกจิตสำนึกการใช้ชีวิตประจำวันของพนักงานให้ตระหนักในความรับผิดชอบต่อสังคม (แนวทาง 3R Reduce, Reuse, Recycle) ที่มีกิจกรรมต่างๆ เช่น การงดการใช้ถุงพลาสติกในห้องอาหารสโมสร กิจกรรมพนักงานให้พนักงานเขี่ยเศษอาหารตัวเองด้วยตนเอง การจัดหาสินค้าตราสัญลักษณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น อีกทั้งยังมีการติดตามกิจกรรมต่างๆที่ได้จัดขึ้น นอกจากนี้ ธปท. ได้จัดเก็บข้อมูลปริมาณขยะส่ง กทม และจากกิจกรรมการแยกขยะของพนักงานในปี พ.ศ. 2562 ทำให้ปริมาณขยะรีไซเคิลมีปริมาณสูงขึ้น อันเกิดจากพนักงานให้ความร่วมมือในการแยกประเภทขยะได้อย่างถูกต้อง

สำหรับการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทาง ธปท. ได้ขึ้นทะเบียน Carbon Neutral ซึ่งเป็นธนาคารกลางแห่งแรกในโลกที่ได้รับการรับรองดังกล่าว นอกจากนี้ยังได้ขึ้นทะเบียนโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) ชื่อ “การปรับเปลี่ยนเครื่องทำน้ำเย็นประสิทธิภาพสูง โดยศูนย์การเรียนรู้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (Replacement of Existing Chiller with High Efficiency Chiller by Bank of Thailand Learning Center)”

4. Innovation

มีการประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ส่งเสริมต่อการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การบริหารจัดการเครื่องทำน้ำเย็น (Chiller) อาคาร 1 ให้สอดรับกับโหลดการใช้พลังงานจริง มีระบบ BAS (Building Automation System) บริหารจัดการในทุกอาคาร และมีโครงการมาตรฐานระบบอาคารอัตโนมัติ IOT สำหรับวัดอุณหภูมิภายในอาคารและส่งข้อมูลเพื่อใช้ในการ Monitoring ระบบปรับอากาศ รวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทยยังเป็นอาคารต้นแบบที่ให้หน่วยงานภายนอกเข้าเยี่ยมชม และมีการนำเสนอนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม

5. Circular Economy

โครงการต่างๆของธนาคารแห่งประเทศไทยที่มีการนำแนวคิดเศรษฐศาสตร์หมุนเวียนมาประยุกต์ใช้ ได้แก่

  • โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากของเสียต่างๆ เช่น เศษกิ่งไม้ ใบไม้ เศษอาหาร เป็นต้น นอกจากเป็นการช่วยลดการเกิดขยะแล้ว ยังเป็นการลดการใช้ปุ๋ยเคมีและทำให้ต้นไม้และดินมีสภาพดีขึ้นจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด
  • โครงการ Recycle พลาสติกเหลือใช้ เพื่อคนยากไร้ เป็นโครงการนำร่องความร่วมมือรับบริจาคขยะพลาสติกไร้ค่าที่ย่อยด้วยเครื่องย่อยพลาสติก เพื่อนำไปผลิตน้ำมันสังเคราะห์ไปใช้ประโยชน์ในที่สาธารณะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักให้พนักงาน ธปท. คัดแยกขยะพลาสติก และเป็นการลดปัญหาขยะพลาสติกในประเทศไทย
  • การนำวัสดุครุภัณฑ์ไม่ได้ใช้งานกลับมาใช้ประโยชน์ด้านการตกแต่งอาคารและการศึกษาประวัติพิพิธภัณฑ์ความรู้ทางการเงินของประเทศไทย

6. Green and Renewable Energy

การติดตั้ง Solar Cells อาคาร 1 อาคาร 2 และอาคารศูนย์การเรียนรู้ มีการติดตั้ง Solar Cells คิดเป็นร้อยละ 100 ของพื้นที่ที่มีศักยภาพในการติดตั้ง และอาคาร 7 ติดตั้งไปร้อยละ 50% ของพื้นที่ที่มีศักยภาพในการติดตั้ง โดยรวมติดตั้งทั้งสิ้น 283.6 kW

7. Sustainability Culture

ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดกิจกรรมสร้างความตระหนักของพนักงานในองค์กรในด้านการอนุรักษ์พลังงานผ่านการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่องจากคณะทำงานด้านการจัดการพลังงาน (ทกพส.) โดยสร้างการมีส่วนร่วมจากคณะผู้ส่งเสริมและสนับสนุนการประหยัดพลังงานทั้งหมด 13 กลุ่ม (Small Group Activity) โดยมีการประกาศมาตรการประหยัดพลังงานในแต่ละกลุ่ม  และการสร้างความตระหนักของพนักงานด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมผ่านกิจกรรมการเขี่ยเศษอาหารที่ห้องอาหารโดยมีมาสคอตน้องพอดีเป็นสัญลักษณ์สำหรับการรณรงค์กิจกรรมนี้ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้พนักงานทานอาหารแต่พอดีเพื่อลดขยะเศษอาหารหลังจากการรับประทาน ผลการดำเนินการจากกิจกรรมนี้พบว่าพนักงานร้อยละ 99.30 ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้สามารถลดน้ำหนักเศษอาหารเฉลี่ย 100 กิโลกรัม/วัน เหลือเพียง 45 กิโลกรัม/วัน ภายในระยะเวลา 3 เดือน

นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรม BOT Go Green โครงการสีเขียวเพิ่มความยั่งยืน เพื่อกระตุ้นให้พนักงานมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมผ่านการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การนำเสนอวิธีประหยัดพลังงานที่โดนใจ การรณรงค์เรื่องการแยกขยะ การนำหลัก 3R (Reduce Reuse และ Recycle) เป็นต้น

Certificated 2020

บริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จํากัด (มหาชน)

11/22 หมู่ 20 ถนนนิมิตใหม่ ตําาบลลําาลูกกา อําาเภอลําาลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12150

GSEE INDEX

4.89

POINTS

1. Leadership

มีการประกาศนโยบายด้านพลังงาน นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม และนโยบายการพัฒนาองค์กรที่ยั่งยืนโดยผู้บริหารสูงสุด

และมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สู่สาธารณชน มีแผนการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานเพื่อตอบสนองนโยบายดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม ที่มีการดำเนินการแล้วทั่วทั้งองค์กร มีคณะทำงานที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างองค์กร ได้แก่ คณะทำงานการจัดการพลังงาน คณะทำงานการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะทำงานการจัดการความยั่งยืน และคณะทำงานสำนักงานสีเขียว มีแผนกลยุทธ์ 3ES (Economy, Environment, Energy and Social) ที่แสดงวัตถุประสงค์และ เป้าหมายที่เหมาะสมกับองค์กร อีกทั้งผู้บริหารสูงสุด คุณสมพล ธนาดำรงศักดิ์ เป็นนายกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งประเทศไทย (TAPMA) เป็นอุปนายกสายความยั่งยืน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเป็นสมาชิกเครือข่ายเพื่อความยั่งยืนแห่งประเทศไทย (Thailand Responsible Business Network; TRBN)

นโยบายด้านพลังงาน นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม และนโยบายการพัฒนาองค์กรที่ยั่งยืน
คุณสมพล ธนาดำรงศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน)
นายกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งประเทศไทย (TAPMA) อุปนายกสายความยั่งยืน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นสมาชิกเครือข่ายเพื่อความยั่งยืนแห่งประเทศไทย (Thailand Responsible Business Network; TRBN)

2. Energy Performance Issue

บริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน) ผ่านการรับรองมาตรฐานสากลระบบการจัดการพลังงาน ISO 50001 โดยปี พ.ศ. 2562 สามารถลด Energy Intensity ได้ 2.76% และสามารถลดต้นทุนพลังงานได้ 4.81% เมื่อเทียบจากปีฐาน (ปี พ.ศ. 2561)

3. Environmental Issue

บริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน) ผ่านการรับรองมาตรฐานสากลด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001  ได้รับการรับรองวอเตอร์ฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์กรอบไฟตัดหมอก สำหรับรถยนต์โตโยต้า
ไฮลักซ์รีโว่ และได้รับการรับรองฉลากสิ่งแวดล้อม (Eco Label) ประเภทฉลาก Carbon Footprint จากการประเมินการดำเนินงานที่สามารถลดการปล่อย CO2 ได้แก่ ฉลาก CFO CFR และ CFP

4. Innovation

มีการประยุกต์ใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่ซับซ้อนระดับสูง ในการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานและจัดการสิ่งแวดล้อม ได้แก่  การติดตั้ง Biomass Boiler เป็นนวัตกรรมกระบวนการผลิตโดยใช้พลังงานทดแทนประเภทพลังงานหมุนเวียนเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด (Wood Pellets) แทนเชื้อเพลิงฟอสซิล โดย FPI เป็นบริษัทแรกของประเทศไทยในการพัฒนาการใช้ความร้อนจากไอน้ำมาประยุกต์ใช้กับห้องอบผลิตภัณฑ์ในกระบวนการพ่นสีและได้รับงบประมาณจาก

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน รวมถึงมีระบบการติดตาม (Mornitoring) ในระบบต่างๆขององค์กร ได้แก่ Solar Roof Project, ระบบหม้อไอน้ำ (Boiler System), ระบบ Andon-iFactory สำหรับการสื่อสารแจ้งกรณีที่เครื่องจักรเสียหรือสาเหตุอื่นและเกิดปัญหาต่อการผลิต เพื่อทำให้เกิดการบริหารจัดการเวลาในการผลิตให้เหมาะสม และทำให้มีเวลาในการเดินเครื่องจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

5. Circular Economy

มีการประยุกต์ใช้ นำแนวคิด Circular Economy มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเม็ดพลาสติก PPB (Recycled Polypropylene) ทดแทน PPA  (Virgin Polypropylene) เพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่ม อีกทั้งยังเป็นวัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีการทำกระถางต้นไม้จากกระดาษ Reuse การทำบล็อกทางเดินรีไซเคิลผสมเถ้าลอยชีวมวลที่ได้จาก Biomass Boiler  และยังมีการร่วมพัฒนากับคู่ค้าในการ Recovery น้ำเสียจากกระบนการชุบ และการ Recovery กากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสีย

6. Green and Renewable Energy

การติดตั้ง Solar Cell ติดตั้งไป 8,000 ตารางเมตร โดยคิดเป็น 83% ของพื้นที่การติดตั้ง โดยมีกำลังการผลิต 994.5 kW

7. Sustainability Culture

พนักงานทั้งหมดมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านความตระหนักในการอนุรักษ์พลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมโดยผ่านกิจกรรม KAIZEN ซึ่งเป็นกิจกรรมข้อเสนอแนะโดยพนักงาน ซึ่งจะใช้เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลงานและ FPI ได้เข้าร่วมโครงการ “Care the Bear : Change the Climate Change by Eco Event” โดยร่วมกับ 22 องค์กรพันธมิตรจัดทำขึ้น ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เพื่อส่งเสริมให้ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากการจัดงาน Event ขององค์กร ได้แก่ การเดินทางโดยรถสาธารณะ ลดการใช้กระดาษและพลาสติก งดการใช้โฟม ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ใช้วัสดุตกแต่งที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และ ลดการเกิดขยะ ซึ่ง FPI มีการจัดกิจกรรมที่ต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เช่น 1.กิจกรรมกีฬาสีรักษ์โลก 2.กิจกรรมนอกสถานที่ เช่น ปลูกป่า 3.กิจกรรมทำบุญประจำปีและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และมีการเก็บตัวเลขขยะและพลาสติกที่ลดได้มาคำนวณเป็นค่า Carbon Footprint และองค์กรมีการประเมินผลด้านความตระหนักของพนักงานเป็นประจำทุกปี

Certificated 2020

บริษัท มิตรผล ไบโอ-เพาเวอร์ จํากัด

99 หมู่ 10 ถนนชุมแพ-ภูเขียว ตําาบลโคกสะอาด อําาเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ 36110

GSEE INDEX

4.84

POINTS

1. Leadership

บริษัท มิตรผล ไบโอ-เพาเวอร์ จำกัด มีการประกาศนโยบายคุณภาพ สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย และการอนุรักษ์พลังงาน และมีการประกาศแต่งตั้งคณะทำงานด้านการจัดการพลังงานและระบบการจัดการ ISO 50001 และคณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงาน ที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างองค์กร นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมที่แสดงความรับผิดชอบต่อชุมชนทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการศึกษา ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสุขภาพของคนในชุมชน  สถานประกอบการเป็นสมาชิกกับสภาหอการค้าไทย สมาคมผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน และสภาอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม

2. Energy Performance Issue

ผ่านการรับรองมาตรฐานสากลระบบการจัดการพลังงาน ISO 50001 และสามารถลดปริมาณการใช้พลังงานได้ 2.78% ในปี พ.ศ. 2562 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2561  และสามารถลดค่าใช้จ่ายพลังงานได้ 15.73% ในปีพ.ศ. 2561/62 เมื่อเทียบกับปีฐาน (พ.ศ. 2559/60)

3. Environmental Issue

ผ่านการรับรองมาตรฐานสากลด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 140001 และสามารถลดปริมาณของเสียในรูปแบบขยะมูลฝอยลงได้ 36.90% โดยมีมาตรการและสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำได้ 5.81% ในปี พ.ศ. 2562 เมื่อเทียบกับปีฐาน ปี พ.ศ. 2561 โดยมีมาตรการนำน้ำเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตกลับมาใช้ใหม่ ได้แก่ กระบวนการดักจับฝุ่นแบบเปียก (Wet Scrubber) การสเปรย์น้ำดักจับฝุ่น การล้างล้อรถบรรทุกเถ้า การฉีดพรมถนน เป็นต้น และได้รับการขึ้นทะเบียน T-VER จากองค์การบริการจัดการก๊าซเรือนกระจก

4. Innovation

มีการการประยุกต์ใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนระดับสูง ได้แก่ การติดตั้ง Air Absorption Chiller, ระบบ Bagasse Dryer ที่ประกอบด้วย ระบบ Conveying และ ระบบ Bagasse Drying ที่สามารถช่วยลดค่าความชื้นของเชื้อเพลิงในระบบการป้อน Bagasse, ระบบบริหารจัดการข้อมูล Plant Information Management System (PIMS) และระบบวัดสภาพอากาศและความเร็วลมเพื่อเป็นข้อมูลในการป้องกันการแพร่กระจายของฝุ่นละออง เป็นต้น และยังเป็นองค์กรต้นแบบให้หน่วยงานภายนอกเข้าเยี่ยมชมสถานประกอบการด้านกระบวนการผลิตไฟฟ้าชีวมวลและการจัดการสิ่งแวดล้อม

5. Circular Economy

มีการนำชานอ้อยที่เหลือจากกระบวนการผลิตมาผลิตเป็นชานอ้อยอัดเม็ด (Bagasse Pellet) โดยนำมาเข้ากระบวนการอัดเม็ดเพื่อให้เป็นเชื่อเพลิงคุณภาพสูง ซึ่งนอกจากจะเป็นเชื้อเพลิงที่ให้ค่าความร้อนสูงแล้ว ยังสามารถจัดเก็บ ขนส่งง่าย และช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม (กลิ่น ฝุ่น) ได้อีกด้วย

6. Green and Renewable Energy

บริษัท มิตรผล ไบโอ-เพาเวอร์ จำกัด มีสัดส่วนของการใช้พลังงานหมุนเวียนเฉลี่ยร้อยละ 100 ต่อปีของการใช้พลังงานทั้งหมด  และความสามารถในการใช้พลังงานปฐมภูมิในกระบวนการผลิตพลังงานไฟฟ้าและความร้อนร่วมกัน (PES) ในปี พ.ศ. 2561 และ 2562 มีค่าเท่ากับ 33% และ 37% ตามลำดับ

7. Sustainability Culture

บริษัท มิตรผล ไบโอ-เพาเวอร์ จำกัด มีการสร้างความตระหนักให้กับพนักงานทุกท่าน ผ่านการจัดกิจกรรม Innovation Awards ทุกปี โดยให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการเขียนข้อเสนอแนะในการอนุรักษ์พลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม โดยจะให้รางวัลกับพนักงานที่มีผลงานโดดเด่น และมีโครงการธนาคารขยะรีไซเคิลสำหรับให้พนักงานทุกคนมีจิตสำนึกในการคัดแยกขยะ และสามารถเป็นช่องทางในการหารายได้เสริม นอกจากนี้ยังมีสวัสดิการเงินช่วยเหลือค่าเช่าบ้านให้กับพนักงานที่มีภูมิลำเนาห่างไกลจากโรงงานมากกว่า 30 กิโลเมตร เพื่อเป็นการส่งผลให้เกิดการลดการใช้พลังงานในการเดินทาง อีกทั้งบริษัท มิตรผล ไบโอ-เพาเวอร์ จำกัด ได้การรับรองมาตรฐานสากลด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ISO 45001 ที่แสดงถึงความตระหนักด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยของพนักงานและองค์กร

Certificated 2020

บริษัทสยามแม็คโคร จํากัด (มหาชน) สาขาศาลายา

87/18 หมู่ 3 ตําาบลศาลายา อําาเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

GSEE INDEX

4.59

POINTS

1. Leadership

ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความสำคัญด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โดยมีการประกาศนโยบายส่งเสริมต่อความยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมจากผู้บริหารสูงสุด เช่น นโยบายการจัดการพลังงาน นโยบายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร รวมถึงมีการแต่งตั้งคณะทำงานที่มีการมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างชัดเจน ได้แก่ ด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม (ทกพส.) คณะทำงานเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) และคณะทำงานคาร์บอนฟุตพริ้นท์  อีกทั้งยังมีแผนงานสนับสนุนยุทธศาสตร์ธนาคารแห่งประเทศไทย ปี 2563-2565 ที่มีประเด็นความท้าทายด้านการดำเนินงานโดยคำนึงถึงความยั่งยืน ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล

คุณสุชาดา อิทธิจารุกุล รองประธานกรรมการที่ 2 และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจสยามแม็คโคร เป็นคณะกรรมการบริหารศูนย์โรตารี และมีความร่วมมือกับสโมสรโรตารีและเครื่องครัวสแตนเลส ตราหัวม้าลาย เพื่อแจกหม้อสแตนเลสใบใหม่ ที่ปราศจากสารตะกั่วให้ผู้ประกอบการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อย่างต่อเนื่อง

2. Energy Performance Issue

บมจ. สยามแม็คโคร สาขาศาลายา ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลด้านการจัดการพลังงาน ISO 50001 และอาคารได้รับการรับรอง Thailand Building Energy Efficiency ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ในระดับ A นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2562 ยังสามารถลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อยอดขายและค่าไฟฟ้าต่อยอดขายได้ 12.16% และ 15.85% ตามลำดับ เมื่อเทียบจากปี พ.ศ. 2560

3. Environmental Issue

มีกระบวนการจัดการสิ่งแวดล้อม ได้แก่ นโยบายสิ่งแวดล้อม การแต่งตั้งคณะทำงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม การวางแผนและการกำหนดเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม แผนปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อม และมีการเฝ้าระวังสมรรถนะด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งในการจัดการของเสียของ บมจ. สยามแม็คโคร สาขาศาลายา มีการดำเนินการเพื่อลดปริมาณของเสีย ได้แก่ การบำบัดน้ำเสียที่นำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วกลับมาใช้ประโยชน์โดยการรดน้ำต้นไม้ โครงการน้ำหมักจุลินทรีย์ (EM) จากวัสดุเปลือกผลไม้ที่เป็นของเสียจากการขายสินค้า การตกแต่ง การบรรจุกลุ่มอาหารสด โดย EM จะใช้ในการล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำและช่วยลดการอุดตันของไขมันและกลิ่นเหม็นได้ โดยจากการดำเนินการดังกล่าวสามารถลดปริมาณขยะและปริมาณการใช้น้ำได้ 10.10% และ 8.22% เมื่อเทียบจากปี พ.ศ. 2560 นอกจากนี้ในการติด Solar Cell ทำให้ บมจ. สยามแม็คโคร สาขาศาลายา สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 21.84% เมื่อเทียบจากปี พ.ศ. 2560

4. Innovation

มีระบบติดตามและตรวจวัดใน Solar Roof Top และมี Control & Monitor Project ที่มีเป้าหมายหลักคือจัดการระบบทำความเย็น อีกทั้งยังสามารถจัดการระบบการจัดการพลังงาน ลดพลังงานได้ และสามารถ monitor ระบบแสงสว่าง การเปิดปิด Chiller ได้แบบ Real Time นอกจากนี้ยังมีโปรแกรม Service F1 ที่เป็นระบบบริการงาน IT Service สามารถใช้งานผ่าน Computer และ Smartphone เพื่อลดขั้นตอนการขออนุมัติที่ซับซ้อน ติดตามสถานะงานได้ผ่านระบบ และ Vendors ทราบสถานะการอนุมัติผ่านระบบและใช้หลักฐานในการทำงานประกอบการเบิกจ่าย ซึ่งโปรแกรมนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในอาคารประเภทเดียวกันได้

5. Circular Economy

โครงการต่างๆของธนาคารแห่งประเทศไทยที่มีการนำแนวคิดเศรษฐศาสตร์หมุนเวียนมาประยุกต์ใช้ ได้แก่

  • โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากของเสียต่างๆ เช่น เศษกิ่งไม้ ใบไม้ เศษอาหาร เป็นต้น นอกจากเป็นการช่วยลดการเกิดขยะแล้ว ยังเป็นการลดการใช้ปุ๋ยเคมีและทำให้ต้นไม้และดินมีสภาพดีขึ้นจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด
  • โครงการ Recycle พลาสติกเหลือใช้ เพื่อคนยากไร้ เป็นโครงการนำร่องความร่วมมือรับบริจาคขยะพลาสติกไร้ค่าที่ย่อยด้วยเครื่องย่อยพลาสติก เพื่อนำไปผลิตน้ำมันสังเคราะห์ไปใช้ประโยชน์ในที่สาธารณะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักให้พนักงาน ธปท. คัดแยกขยะพลาสติก และเป็นการลดปัญหาขยะพลาสติกในประเทศไทย
  • การนำวัสดุครุภัณฑ์ไม่ได้ใช้งานกลับมาใช้ประโยชน์ด้านการตกแต่งอาคารและการศึกษาประวัติพิพิธภัณฑ์ความรู้ทางการเงินของประเทศไทย

6. Green and Renewable Energy

มีการติดตั้ง Solar Cell ที่มีศักยภาพเกินกว่าร้อยละ 50 ของศักยภาพของพื้นที่ที่เหมาะสมในการติดตั้ง โดยมีพื้นที่การติดตั้งเท่ากับ 6,886 ตารางเมตร คิดเป็นสัดส่วนเท่ากับ 75.45% ของพื้นที่หลังคาทั้งหมด

7. Sustainability Culture

มีกิจกรรม Big Cleaning Day และ กิจกรรมกล่องความคิดเห็นเพื่อให้พนักงานเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆด้านการอนุรักษ์พลังงานตามมาตรฐานสากล ISO 50001 มีการสร้างวัฒนธรรมด้านความตระหนักต่อความสำคัญด้านสมรรถนะพลังงานและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมผ่านกิจกรรม Morning Talk และมีการจัดซื้อแบบ Green Procurement รวมถึงมีนโยบายจัดจ้างหน่วยงานที่รับมาตรฐานรางวัลหรือฉลากที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม

Certificated 2020

บริษัท อีโนเว รับเบอร์ (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน)

258 ซอย 49 ถนนรังสิต-นครนายก ตําาบลประชาธิปัตย์ อําาเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12130

GSEE INDEX

4.43

POINTS

1. Leadership

บริษัท อีโนเว รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีการประกาศและเผยแพร่พันธกิจ และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมรวมถึงการจัดการของเสียให้เป็นศูนย์หรือ Zero Waste โดยการใช้หลัก 3R โดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย และแผนการดำเนินงานด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมเป็นประจำทุกปี มีการดำเนินกิจกรรมที่แสดงความรับผิดชอบต่อชุมชนเป็นประจำทุกปี เช่น โครงการสร้างอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง คลอง 5 กิจกรรมวันสิ่งแวดล้อมโลกที่จัดร่วมกับเทศบาลนครรังสิต การสนับสนุนของรางวัลกิจกรรมงานวันเด็ก เป็นต้น อีกทั้ง คุณพิมพ์ใจ ลี้อิสระนุกูล ประธานกรรมการบริหารบริษัทฯ ได้เข้าดำรงตำแหน่งเป็นประธาน ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อความเป็นเลิศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นการสร้างเครือข่ายที่ส่งเสริมต่อการดำเนินกิจกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงาน

คุณพิมพ์ใจ ลี้อิสระนุกูล 

ประธานกรรมการบริหารบริษัทฯ

ประธาน ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อความเป็นเลิศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

2. Energy Performance Issue

บริษัทฯได้รับรางวัล Thailand Energy Awards 2018 รางวัลดีเด่น ด้านอนุรักษ์พลังงาน ประเภทโรงงานควบคุม จากกระทรวงพลังงาน และในปี พ.ศ. 2561 สามารถลดสมรรถนะการใช้พลังงานในเชิงปริมาณได้ 6.87% เมื่อเทียบจากปี พ.ศ. 2560

รางวัล Thailand Energy Awards 2018 รางวัลดีเด่น ด้านอนุรักษ์พลังงาน ประเภทโรงงานควบคุม 

3. Environmental Issue

บริษัทฯผ่านการรับรองมาตรฐานสากลด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 และมีการจัดเก็บข้อมูลปริมาณของเสียจากการดำเนินการของบริษัท โดยในปี พ.ศ. 2561-2562 สามารถลดปริมาณของเสียได้ 22.75% เมื่อเทียบจากปี พ.ศ. 2560  มีการดำเนินการจัดเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำ และมีการสื่อสารและรณรงค์เพื่อลดการใช้น้ำให้กับพนักงานผ่านสื่อต่างๆ เช่น การรณรงค์ผ่านกิจกรรมต่างๆ การรณรงค์ผ่านเสียงตามสาย การสื่อสารระหว่างการเปลี่ยนกะของพนักงานในสายการผลิต บริษัทฯสามารถลดปริมารณการใช้น้ำได้ 2.99% ในปี พ.ศ. 2561-2562 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2560  นอกจากนี้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ของบริษัทฯลดลง 7.54% ในปี พ.ศ. 2562 เมื่อเทียบจากปี พ.ศ. 2561 และได้รับประกาศนียบัตร “คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร” ในงานมอบรางวัล ร้อยดวงใจ ร่วมใจลดโลกร้อน ประจำปี 2562

4. Innovation

บริษัทฯ มีระบบ Papyrus สำหรับการจัดเก็บเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ภายในของบริษัทฯ และมีกิจกรรมภายในองค์กร การประกวดการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้ารวมถึงเพื่อลดการใช้พลังงาน และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และมีการประยุกต์ใช้นวัตกรรมสำหรับดำเนินการในด้านการอนุรักษ์พลังงานพร้อมทั้งเปิดให้หน่วยงานภายนอกเข้ามาเยี่ยมชมนวัตกรรมต่างๆที่ได้มีการประยุกต์ใช้ในองค์กร ได้แก่ 

  • การใช้โปรแกรมบาร์โค้ดในการผสมยางเพื่อควบคุมสัดส่วนสารเคมีของยางแต่ละรุ่นที่ผลิตเพื่อป้องกันการผสมยางผิดพลาดและเกิดของเสียในกระบวนการผลิต 
  • การใช้โปรแกรม Primus Soft Pro สำหรับบันทึกปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าในหม้อไอน้ำรายวันเพื่อสามารถวิเคราะห์หาแนวทางการจัดการการใช้พลังงานในเครื่องจักรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 
  • เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียด้วยไฟฟ้า (Electrocoagulation) ในระบบบำบัดน้ำเสีย

5. Circular Economy

บริษัทมีโครงการนำยางที่ Reject จากกระบวนการผลิตกลับมาใช้ในการ Packing โดยสามารถลดปริมาณของเสียได้ 100 เส้น/วัน หรือ 3,650 เส้น/ปี รวมถึงมีโครงการส่งกลับถุงบรรจุคาร์บอนและถุงแป้งให้กับผู้ขายเพื่อนำกลับไปบรรจุใหม่หรือใช้ซ้ำ ที่สามารถลดของเสียได้ 4,800 ถุง/ปี นอกจากนี้มีการติดตั้งระบบ EC (Electrocoagulation) สำหรับการบำบัดน้ำเสีย โดยน้ำที่ผ่านการบำบัดทั้งหมดจะไม่มีการปล่อยออก โดยจะถูกส่งไปจัดเก็บในบ่อสำหรับการนำไปใช้ในส่วนพื้นที่สีเขียว ระบบ Cooling Tower และเป็นการสำรองน้ำฉุกเฉิน

6. Green and Renewable Energy

บริษัทติดตั้ง Solar Roof Top โดยจากการสำรวจพื้นที่และโครงสร้างอาคารสามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ผลิตกำลังไฟฟ้าสูงสุดได้ 600 kWp และสัดส่วนการติดตั้งคิดเป็นร้อยละ 100 ของพื้นที่ทั้งหมดที่สามารถติดตั้งได้ พร้อมทั้งมีการจดบันทึกค่าพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ในแต่ละวัน

7. Sustainability Culture

มีกิจกรรมสร้างความตระหนักให้กับพนักงานผ่านกิจกรรมกลุ่มการควบคุมคุณภาพ (Quality Control Circle: QCC) การอบรมสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์พลังงาน การอบรมการสร้างวัฒนธรรมสีเขียว กิจกรรมคลินิกสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย และการสื่อสารรณรงค์และประชาสัมพันธ์ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น การติดป้ายณรงค์การประหยัดน้ำในห้องน้ำ การรณรงค์ Zero Waste ที่โรงอาหารเป็นต้น และมีการประเมินความตระหนักของพนักงานด้านสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์พลังงานเป็นประจำทุกปี รวมถึงมีการจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยเป็นไปตามกฎหมาย และมีการจัดกิจกรรมต่างๆส่งเสริมด้านอาชีวอนามัยและสุขภาพของพนักงาน เช่น การจัดอมรบ Safety Simulation Room การจัดกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้ กิจกรรมส่งเสริมด้านอาชีวอนามัยและสุขภาพของพนักงาน เป็นต้น

Certificated 2020

บริษัท ยูนีซัน จํากัด

39 หมู่ 4 ตําาบลคลองอุดมชลจร อําาเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000

GSEE INDEX

4.44

POINTS

1. Leadership

มีการประกาศนโยบายการบริหารจัดการด้านการอนุรักษ์พลังงาน และนโยบายการดำเนินธุรกิจภายใต้มาตรฐานสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย รวมถึงมีประกาศแต่งตั้งคณะทำงานด้านการจัดการพลังงาน และคณะกรรมการทำงานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 และระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ISO 45001 รวมถึงบริษัท ยูนีซัน จำกัด เป็นอุปนายกสมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน

2. Energy Performance Issue

บริษัทฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลระบบการจัดการพลังงาน ISO 50001 โดยสามารถลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าและต้นทุนพลังงานในปี พ.ศ. 2562 ได้ 2.05% และ 2.30% เมื่อเทียบจากปี พ.ศ. 2561 ตามลำดับ

3. Environmental Issue

บริษัทฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 โดยมีการดำเนินการบ่งชี้ จัดเก็บข้อมูลปริมาณของเสียจากการดำเนินการขององค์กร พบว่าในปี พ.ศ. 2562 สามารถลดปริมาณของเสียรวมได้ 21.75% เมื่อเทียบจากปี พ.ศ. 2561  รวมถึงสามารถลดปริมาณการใช้น้ำได้ 3.15% รวมถึงได้ขึ้นทะเบียน Carbon Footprint for Organization จากองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก

4. Innovation

มีการประยุกต์ใช้โปรแกรม BAS ที่ใช้ในการจัดการด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เฉพาะระบบปรับอากาศ การใช้โปรแกรม INC Scada สำหรับการวัดการใช้พลังงานทั้งองค์กร รวมทั้งมีการใช้ OAHU – Cross Flow Technology ซึ่งเป็นการเลือกใช้ OAHU แบบใหม่ ที่สามารถลดการใช้น้ำเย็นจาก Chiller ได้ 34%

5. Circular Economy

การใช้เครื่อง Blow Fuse Seal (BFS) สำหรับการผลิตลูกสวนทวาร แทนเครื่อง Blowing Machine จำนวน 4 เครื่อง ซึ่ง BFS สามารถผลิตผลผลิตได้เพิ่มขึ้นจากเดิม 105.8% อีกทั้งยังสามารถลดปริมาณผลผลิตเสียลงได้ถึง 83.53% ช่วยลดการปล่อยอากาศเสียออกจากเครื่องจักรเมื่อเทียบจากเครื่องจักรแบบเดิม และน้ำเสียจากเครื่องBFS จะถูกนำไปบำบัดที่ระบบบำบัดน้ำเสียและนำไปใช้สำหรับการซ้อมดับเพลิงและรถน้ำต้นไม้รอบบริษัทฯ  นอกจากนี้บริษัท ยูนีซันจำกัด ได้ให้ความอนุเคราะห์กากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียให้กับคู่ค้า เพื่อนำไปเพาะขยายเชื้อจุลินทรีย์ในการ Start Up ระบบบำบัดน้ำเสียต่อไป

6. Green and Renewable Energy

การติดตั้ง Solar Cell ติดตั้งไป 4,422 ตารางเมตร โดยคิดเป็น 51.93% ของพื้นที่การติดตั้ง โดยมีกำลังการผลิต 500 kW

7. Sustainability Culture

บริษัท ยูนีซัน จำกัด มีสวัสดิการรับส่งพนักงานด้วยรถบัสที่ใช้ NGV เป็นเชื้อเพลิง 100% อีกทั้งบริษัทยังได้รับการรับรองมาตรฐานสากลด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ISO 45001 และบริษัทฯ ได้จัดโครงการ Idea Contest หรือ QCC เพื่อปลูกจิตสำนึกให้พนักงานให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์พลังงาน สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย หรือ GMP โดยให้พนักงานช่วยกันคิดปัญหา และส่งข้อเสนอแนะ โดยมีเงินรางวัลมอบให้แก่ผู้ได้รับรางวัล และมีกิจกรรม Unison Plus System ที่มีการจัดขึ้นทุกปี เพื่อให้พนักงานร่วมกันทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ และมีความรับผิดชอบร่วมกันในด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เกิดความรู้ความเข้าใจของระบบและนำไปใช้ประโยชน์ได้